วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเรียนรู้

เนื้อหาการเรียนรู้
1.
การเรียนโปรแกรม PhotoShop
1.1 การตัดภาพการตัดภาพ การนำเอาภาพขนาดใหญ่ มาใส่ในเว็บเพจ ไม่ใช่วิธีที่ดีของการนำเสนอ เพราะจะทำให้การโหลดภาพเสียเวลามาก วิธีที่ดีที่สุด คือ ควรตัดภาพเป็นชิ้นเล็ก แล้วนำภาพมาประกอบกันเป็นชิ้นอีกครั้ง ด้วยเทคนิคการประกอบภาพผ่านเอกสารเว็บ ดังนั้นเนื้อหานี้จะแนะนำการ
1.ตัดภาพ เป็นส่วนๆ ก่อน เพื่อเป็นแนวทาง และเป็นการเตรียมภาพขั้นต้น ไว้ก่อน
2.เตรียมภาพที่ต้องการ และเปิดไว้บนหน้าต่างการทำงานของ Adobe Photoshop ขยายหน้าต่างภาพ ให้เห็นพื้นที่ว่างรอบภาพ
3.เปิดแถบบรรทัด ด้วยคำสั่ง View, Show Rulers
4.เลือกเครื่องมือ Move Tool
5.นำเมาส์ไปชี้ในแถบไม้บรรทัด คลิกปุ่มเมาส์ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ (กรณีที่ชี้ที่บรรทัดแนวนอน ก็ให้ลากเมาส์ลงมา และกรณีที่ชี้ในไม้บรรทัดแนวตั้ง ก็ให้ลากเมาส์ไปด้านขวา) จะปรากฏเส้นนำสายตา (Guide Line : มักเป็นสีน้ำเงิน)
6.เลื่อนเส้นนำสายตา ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมของภาพ แล้วปล่อยนิ้วจากเมาส์ เพื่อยืนยันตำแหน่ง
7.หากต้องการตำแหน่งอื่น ก็ทำขั้นตอนที่ 5 - 6 ซ้ำ จนได้ครบทุกตำแหน่ง
8.ถ้าต้องการปรับตำแหน่งของเส้นนำสายตา ที่วางไว้แล้ว ให้นำเมาส์ไปชี้ที่เส้นนั้นๆ จะพบว่า Mouse Pointer มีรูปร่างเป็นลูกศรสองหัว ให้กดปุ่มเมาส์ค้างไว้ แล้วปรับตำแหน่ง
9.ถ้าต้องการลบเส้นนำสายตาเส้นใด ให้นำเมาส์ลากเส้นนำสายตาเส้นที่ต้องการ ไปปล่อยในแถบไม้บรรทัด
10.หากต้องการลบเส้นนำสายตาทุกเส้น ให้เลือกคำสั่ง View, Clear Guides
11.ตรวจสอบว่าภาพมีการกำหนดเป็น Layer หรือไม่ หากเป็น Layer จะต้องทำการรวม Layer ก่อน ด้วยคำสั่ง Layer, Flatten Image
12.เปลี่ยนเครื่องมือเป็น Selection Tools ที่ต้องการ
13.กำหนดพื้นที่รอบกรอบที่กำหนดไว้ ทีละกรอบ
14.เลือกคำสั่ง Edit, Copy เพื่อคัดลอกข้อมูลที่เลือก ไว้ใน Clipboard
15.เลือกคำสั่ง File, New เพื่อเปิดพื้นที่งานใหม่ โดยไม่ต้องตั้งค่าใดๆ ให้กดปุ่ม ได้เลย
16.เลือกคำสั่ง Edit, Paste เพื่อวางข้อมูลจาก Clipboard บนหน้าต่างที่เตรียมไว้
17.จัดเก็บงาน ด้วยไฟล์ฟอร์แมตที่ต้องการ
18.ทำขั้นตอนที่ 13 - 17 ซ้ำ กับภาพตำแหน่งอื่นเพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้ชิ้นส่วนของภาพ เพื่อนำไปใช้ในเว็บได้
ที่มา: http://www.nectec.or.th/courseware/graphics/photoshop/0027.html
2. การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
3. ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น <สีเขียว>ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน <สีน้ำเงิน>
1. เป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่กำหรดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าได้เกิดปัญญาความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แล้ว สามารถที่จะบอก อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้นั้นได้
1.2 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะของร่างกายในการเคลื่อนไหว ลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหา
1.3 พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกด้านอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมประกอบด้วยพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายหลายประการด้วยกัน สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ หากจะต้องสนองต่อทุกพฤติกรรมแล้ว ย่อมมีลักษณะสับสนหรือซับซ้อน ในการออกแบบสื่อการสอน จึงต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอรียนของื่อชนิดหนึ่ง ๆ ย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อย่อมทำไม่ได้ ในทางปฎิบัติจึงใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น -การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต -การสอนกลุ่มเล็ก -การสอนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนต์มีความเหมาะสมกัยการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล้ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกีน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4. ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่งอต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีตวามเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหทมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนต์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ -การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก -การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก -สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
4. การเรียนโปรแกรม Photoshop
การเรียนโปรแกรม Photoshop .......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้.....ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือWidth : กำหนดความกว้างHeight :กำหนดความสูง(ควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm )Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode : กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสี ก็คือโหมด CMYK.....C = Cyan สีฟ้า.....M= Mageta สีม่วงแดง.....Y=Yellow สีเหลือง.....K=Black สีดำContent กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสงการเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้.....ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการการตัดภาพ.....การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselectเมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อนการทำภาพเพิ่ม1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่ 22. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหายขั้นตอนการตกแต่งภาพ1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลงการแก้ไขงาน ทำได้ 2 วิธี คือ1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไขการตัดพื้น.....การใช้ Polygonal Lasso Tool คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่งการบันทึกงาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้.......1.การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้
1. เลือกเมนู File > Save as
2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd.......2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่.......3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)การใช้ Filter......เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ
5. เรียนวิธีทำBlog
วันที่ 8 สิงหาคม 2550 เรียนวิธีทำ Blog เพื่อมีพื้นที่ในการนำเสนองานของตนเอง โดยสมัครได้ที่www.Blogger.com/home และได้เรียนวิธีการปรับแต่งหน้าBlog การปรับแต่งตัวอักษรหัวเรื่องให้น่าสนใจ โดยการทำให้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นการเน้นเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น ภาษาอังกฤษควรทำให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ การปรับเปลี่ยนสีพื้นหน้า Blog สีตัวอักษร รวมถึงเรียนการนำรูปมาใส่ไว้หน้าBlog ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: