วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความรู้ที่ได้

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้คือ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ได้เรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้มากมาย อาทิเช่น
1. มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัย
2. ขั้นตอนการลงเส้น
3. การวาดภาพโดยการใช้ปากกา
4. ขั้นตอนการวาดภาพ
5. วิธีการสร้างสื่อโดยการเขียนภาพ
6. การเลือกโทนสีเพื่อระบายภาพ
7. การผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Power Point และ Photoshop
8. การสร้าง blogger

การเดินทางที่แสนไกล

กับ

เพื่อนที่แสนดีคนหนึ่ง


ฤดูกาลผันผ่าน

อาจเปลี่ยนวันวานตามไปได้

แต่ตราบใดที่ภาษายังไม่เปลี่ยนไป

ความว่า..เพื่อน..เขียนอย่างไร

ความหมายย่อมเหมือนเดิม


สวัสดีคะ....วันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษากันดีกว่า
1. การออกแบบสื่อการเรียนรู้
การออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน - รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้ - ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม - สภาพการเรียน - ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ - ราคาที่เหมาะสม ในการพิจารณาออกแบบสื่อการเรียนรู้ เพื่อประกอบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ บุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดหาสื่อเพื่อประกอบการเรียนรู้ คือ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ครูผู้สอน หรือผู้รับผิดชอบสาระการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ

1. การออกแบบการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน

2) ลักษณะเฉพาะของสื่อต่าง ๆ การนำไปใช้ และการออกแบบ สามารถเร้าความสนใจ ให้ความหมาย และมีผลต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง

3) การจัดหาสื่อการเรียนรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถาน ศึกษา ความคุ้มค่าในการผลิตเอง การหายืม การปรับปรุงดัดแปลง หรือเลือกจัดซื้อ

4) การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้

4.1 การออกแบบการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ และพัฒนาระบบการเรียนการสอน ( Kearsley , 1984 ) ได้ให้ความหมายว่า ต้องมีลักษณะ 3 ประการ คือ

  • ต้องมีการวิเคราะห์งาน หรือกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการประเมินทุกขั้นตอน
  • ต้องมีการระบุกลยุทธการเรียน ระบุสื่อที่ใช้ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้น

องค์ประกอบใช้ในการออกแบบการเรียนรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ การจัดลำดับเนื้อหาความรู้ การเตรียมล่วงหน้า ผู้เรียน ข้อมูลย้อนกลับ การเสริมแรง การฝึกปฏิบัติ การนำไปใช้ ฯลฯ รายงานการสังเคราะห์เอกสาร เรื่อง วิธีการสอนและรูปแบบการเรียนการสอน ( กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ 2543 : 137 ) พบวิธีสอนและการเรียนรู้ทั่วไปที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มี 24 วิธี ถ้าพิจารณาจากขั้นตอนการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละวิธีแล้ว ไม่มีข้อจำกัดว่า วิธีการเรียนการสอนใดจะเหมาะสมกับเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง แต่ละวิธีเน้นบทบาทผู้เรียน และผู้สอนแตกต่างกันไป และสามารถปรับกิจกรรมบางขั้นตอนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน และได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น
2. การวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอน
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนคือ ? การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนำผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interretation) และตัดสินคุณค่า (Value Judgement) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่ดีเพียงใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ประการใด จะเห็นว่า การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน กระทำได้โดยการพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อนั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อจึงมีความสำคัญ การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการเหตุผลและเป็นระบบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง สามารถบอกศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่ออย่างเที่ยงตรงต่อไป การวัดผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นต้นการวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน ในที่นี้ จะกล่าวถึงการวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ในเบื้องแรก การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural) และการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้ ขั้น ๑ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis) การตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ปรากฏในสื่อ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ถ้าส่วนที่ปรากฏภายในมีลักษณะชัดเจน ง่าย และสะดวกแก่การรับรู้ สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ลักษณะสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อ

๑. ลักษณะสื่อปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก

๑.๑ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ สื่อแต่ละประเภทมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ สื่อการเรียนการสอนบางประเภทจะทำหน้าที่เพียงให้สาระข้อมูล บางประเภทจะให้ทั้งสาระและกำหนดให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยในสื่อบางประเภท เช่น สื่อสำหรับการศึกษารายบุคคล สื่อที่เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลอาจจะเสนอได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะให้ความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมมากน้อยแตกต่างกัน ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือของจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลใช้ประสาทสัมผัสได้มากช่องรับสัมผัสกว่าสื่ออื่น ที่มีความเป็นรูปแบบรองลงมา ได้แก่ ของตัวอย่าง ของจำลอง เป็นต้น สื่อบางชนิด ให้สาระเป็นรายละเอียดมาก บางชนิดให้น้อย บางชนิดให้แต่หัวข้อ เช่น แผ่นโปร่งใส สื่อบางประเภทสื่อสารด้วยการดู บางประเภทสื่อสารทางเสียง หรือบางประเภทสื่อสารด้วยการสัมผัส ดมกลิ่น หรือลิ้มรส เช่น การสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งมีหลายชนิด ตั้งแต่สื่อประเภทกราฟิกอย่างง่ายไปจนถึงภาพเหมือนจริง สื่อประเภทกราฟิกนั้น ต้องเสนอความคิดหลักเพียงความคิดเดียว ภาพก็มีหลายชนิด ภาพ ๒ มิติ หรือภาพ ๓ มิติ ภาพอาจจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวเร็ว บางชนิดเป็นลายเส้น รายละเอียดน้อย เช่น ภาพการ์ตูน ซึ่งต่างจากภาพเหมือนจริงที่ให้รายละเอียดมาก เป็นต้น รูปแบบของการเสนอภาพนั้น อาจจะเสนอภาพหลายภาพพร้อมกัน (Simultaneous Images หรือ Multi-Images) หรืออาจจะเสนอภาพที่ละภาพต่อเนื่องกัน (Sequential Images) เหล่านี้เป็นต้น ลักษณะที่แตกต่างกันนี้ย่อมให้คุณค่าแตกต่างกัน จะเห็นว่า ในปัจจุบันสื่อแต่ละประเภทมีความหลากหลายในรูปแบบ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิธีการสอน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่และทฤษฎีการเรียนการสอนที่นำมาเน้นใหม่ เช่น การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ในการเรียนการสอน ทำให้สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทมีมากรูปแบบอันนำมาซึ่งประโยชน์ต่อการสื่อสาร เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งแต่เดิมได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพฤติกรรมในการสร้างบทเรียน (Behavioral Psychology) CAI นั้นมีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แต่ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ทำให้เกิด CAI ในลักษณะของเกมส์ (Games) สถานการณ์จำลอง (Simulation) และโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ (Artificial Intelligence) แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สื่อการเรียนการสอนจะมีรูปแบบที่หลากหลาย สื่อที่ผลิตก็จะต้องคงลักษณะเฉพาะตามประเภทสื่อไว้ได้ ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อ ผู้ตรวจสอบจะต้องพิจารณาความถูกต้องของลักษณะสื่อ ทั้งแต่ละองค์ประกอบและโดยส่วนรวมในอันที่จะนำไปสู่การทำงานที่สมบูรณ์ตามศักยภาพของสื่อแต่ละประเภท และตามวัตถุประสงค์ของการผลิตสื่อ (ดูตัวอย่างแบบฟอร์มการตรวจสอบสื่อ ๑, ๒, ๓ และ ๔)

๑.๒ มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards) การออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยการนำส่วนประกอบต่างๆ ตามประเภทของสื่อและองค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยงข้องมาพิจารณา เพื่อประโยชน์ของการสื่อสาระตามความคาดหมาย องค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในที่นี้ได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย หลักการสอน กระบวนการสื่อสารและลักษณะเฉพาะเรื่อง เป็นต้น การออกแบบสื่อที่ดีจะต้องช่วยทำให้การสื่อสาระชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่ายสำหรับกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการออกแบบที่ทำให้การสื่อสารคลุมเครือ และสับสนจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความเข้าใจ ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อในขั้นนี้ สิ่งที่ผู้ตรวจสอบสื่อจะต้องพิจารณา คือ การชี้หรือแสดงสาระสำคัญตามที่ต้องการได้อย่างน่าสนใจ กระชับและได้ใจความครบถ้วน มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม เช่น จำนวนเวลาเรียน จำนวนบุคคลผู้ใช้สื่อ วิธีการใช้สื่อ เป็นต้น มีความน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา เร้าใจ และน่าเชื่อถือ อนึ่ง หากสื่อนั้นมีกิจกรรมหรือตัวอย่างประกอบ กิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระ ทั้งกิจกรรมและตัวอย่างต้องสามารถจุและตรึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ตลอดเวลา และนำไปสู่การขยายหรือเสริมสาระที่ต้องการเรียนรู้ให้กระจ่างชัด แต่ถ้าสื่อนั้นเป็นวัสดุกราฟิก ก็จะต้องเป็นการออกแบบที่ลงตัว มีความสมดุลย์ในตัว นอกจากนี้ในบางครั้งอาจใช้การออกแบบแก้ข้อจำกัดหรือข้อเสียเปรียบของลักษณะเฉพาะบางประการของสื่อ แต่การกระทำเช่นนี้ จำเป็นต้องมีผลงานวิจัยรองรับ ตัวอย่างเช่นโปรแกรมการสอนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer-based instructional programs) ซึ่งเป็นบทเรียนสำเร็จรูปรายบุคคล ตามปกติบทเรียนลักษณะนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนนานเท่าไรก็ได้ แต่นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย Belland, Taylor, Canelos, Dwyer และ Baker (๑๙๘๕) ตั้งประเด็นสงสัยว่า การให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้เวลาเรียนนานเท่าใดก็ได้นั้น อาจจะเป็นผลทำให้ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ความตั้งใจเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ คณะวิจัยจึงได้ทำการวิจัยโดยกำหนดเวลาเรียนในโปรแกรมกรสอนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการกำหนดเวลาเรียนนี้กระทำได้ เพราะอยู่ในสมรรถวิสัยตามศักยภาพคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมที่กำหนดเวลาเรียน ผนวกกับให้เวลาสำหรับกระบวนการคิด ช่วยให้ผลการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วย ตัวอย่างงานวิจัยที่ยกมาข้างบนนี้ ชี้ให้เห็นว่า กรออกแบบโดยการกำหนดเวลาเรียนในบทเรียน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถกำหนดเวลาเรียนในบทเรียนได้ ช่วยแก้จุดอ่อนหรือข้อจำกัดของลักษณะเฉพาะบทเรียนสำเร็จรูปรายบุคคลได้เป็นอย่างดี งานวิจัยในลักษณะนี้จะช่วยนักออกแบบสื่อให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการออกแบบ

๑.๓ มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standards) เทคนิควิธีการเสนอสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรเน้นในที่นี้คือ เทคนิควิธีที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน ต้องเป็นเทคนิควิธีการทางการศึกษากล่าวคือ เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้การเสนอสาระเป็นไปอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือหรือไม่ซ่อนเร้นสาระเพื่อให้มีการเดาในด้านการนำเสนอต้องน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมือน ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย มีความกระชับและสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่วัตถุประสงค์กำหนด อีกทั้งเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง ส่วนในด้านการใช้สื่อ ควรเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ความคล่องตัวในการใช้ ใช้ง่าย และมีความปลอดภัย
3. หลักในการใช้สื่อ
หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับ
ระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่

10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ที่มา http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281
4. เราสามารถจัดประเภทของสื่อการสอนได้ดังนี้
ประเภทของสื่อการสอนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดประเภทสื่อการสอนนั้นมีหลากหลาย ในที่นี้จะพิจารณาจัดกลุ่มการแบ่งประเภทของสื่อการสอนเป็น 2 มุมมอง ดังนี้

ก. การจัดประเภทตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากสื่อการสอน

ข. การจัดประเภทตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังต่อไปนี้

  • การจัดประเภทของสื่อการสอนตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้การจัดประเภทของสื่อการสอนโดยนำประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน ได้แก่ แนวคิดของโฮบาน และคณะ (1937) แนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (1946) และแนวคิดของบรูเนอร์ (1966) รายละเอียดของแต่ละแนวคิดมีดังนี้แนวคิดของโฮบานและคณะโฮบาน และคณะ (1937) แบ่งสื่อการสอนออกเป็นกลุ่มตามระดับของของความเหมือนจริง ในการพัฒนาแนวคิดนี้ โฮบานเริ่มต้นจากการนำสื่อการสอนต่างๆ มาจัดลำดับตามความเป็นนามธรรม (Abstract) ไปสู่ระดับที่เขาเรียกว่า "สถานการณ์รวม" (Total situation) โฮบานจัดให้ "การใช้คำ" (Word) อยู่ในลำดับแรกหรือลำดับที่สูงที่สุดของสื่อการสอนที่มีความเป็นนามธรรม (C.F. Hoban, Sr., C.F.Hoban, Jr., and Samuel B. Zissman 1937 อ้างใน Heinich และคณะ 1996: 16)แนวคิดของเอ็ดการ์ เดลในปี ค.ศ. 1946 เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้เสนอแนวคิดในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน โดยพัฒนาจากแนวคิดของโอบานและคณะในด้านความเป็นรูปธรรมของสื่อการสอน แนวคิดของเดลได้รับความนิยมอย่างมาก เรียกแนวคิดนี้ว่า "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience) ซึ่งเอ็ดการ์ เดล สื่อสารแนวคิดของเขาด้วยภาพกรวยคว่ำ (Edgar Dale: 1946 อ้างใน Heinich และคณะ 1996) ในภาพดังกล่าวเริ่มต้นจัดกลุ่มสื่อการสอนจากสื่อที่ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์จริงของการสอน ไปสู่ระดับที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เหตุการณ์จริง และท้ายที่สุดผู้เรียนจะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์สัญลักษณ์ ซึ่งแสดงแทนเหตุการณ์จริง โดยเดลได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 11 กลุ่ม ตามระดับการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือระดับประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับ ดังนี้1ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ตัวอย่างเช่น การทดลองผสมสารเคมี การฝึกหัดทำอาหาร การฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น2ประสบการณ์จำลอง (Contrived experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง ตัวอย่างเช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator เป็นต้น3ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่ข้อมีจำกัดเรื่องยุคสมัยหรือเวลา4การสาธิต (Demonstration)เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ เช่น การสาธิตการอาบน้ำเด็กแรกเกิด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น5การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม6นิทรรศการ (Exhibits) เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จัดแสดงไว้ ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ7โทรทัศน์ (Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนและทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์8ภาพยนตร์ (Motion Picture)เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิลม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวก็ได้ในกรณีที่เป็นภาพยนตร์เงียบ9ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture) เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็น ภาพนิ่ง วิทยุ หรือเทปบันทึกเสียง เพื่อให้ประสบการณ์การเรียรู้แก่ผู้เรียน สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว เช่น สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ หรือภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริง ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟังเสียง เป็นต้น ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ เนื่องจากเป็นการจัดประสบการ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ10ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)สื่อประเภทนี้ ได้แก่ พวกวัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อการสอนระเภทนี้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย จึงจะสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อได้เป็นอย่างดี เนื้อหาบทเรียนจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญลักษณ์ หรืองานกราฟิก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย11วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุดแนวคิดของบรูเนอร์นักจิตวิทยาชื่อ บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner) ได้พิจารณาการแบ่งประเภทสิ่อการสอนในอีกด้านหนึ่งซึ่งคู่ขนานกับแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล กล่าวคือ ในการจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน บรูเนอร์เน้นที่ธรรมชาติการทำงานของสมองผู้เรียน มากกว่าธรรมชาติของสิ่งเร้าที่นำมาเสนอต่อผู้เรียน โดยบรูเนอร์ได้แบ่งกลุ่มสื่อการสอนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่คู่ขนานกับแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล ได้แก่ กลุ่มการกระทำ (Enactive) กลุ่มภาพ (Iconic) และกลุ่มนามธรรม (Abstract) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้กลุ่มการกระทำ (Enactive) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเองจากการลงมือกระทำ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มการกระทำ จะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 1 ถึง 6 คือ ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์รอง ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ และนิทรรศการ กลุ่มภาพ (Iconic) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์หรือได้รับถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านสื่อ เปรียบได้กับการเรียนรู้ด้วยภาพ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มภาพ จะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 7 ถึง 9 กลุ่มนามธรรม (Abstract) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากสัญลักษณ์ เช่น ตัวอักษร เครื่องหมาย หรือคำพูด ซึ่งเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกับกลุ่มอื่น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มนามธรรมจะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 10 ถึง 11
  • การแบ่งประเภทสื่อการสอนตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานการจัดประเภทของสื่อการสอนตามแนวคิดในกลุ่มนี้จะนำลักษณะทางกายภาพของสื่อการสอน หรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดประเภทของสื่อการสอน แนวคิดการแบ่งประเภทสื่อการสอนในกลุ่มนี้ เช่น แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์ แนวคิดของอีลี และแนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์เดอ คีฟเฟอร์ (De Kieffer) แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (อ้างถึงใน กิดานันท์ 2540: 80)

1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (Projected Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉาย สไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น

2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Non projected Aids) ตัวอย่างเช่น ภาพนิ่ง แผนภูมิ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น

3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ แผ่นเสียง เป็นต้น


สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material) เป็นสิ่งที่ได้รับการบรรจุเนื้อหาสาระ เรื่องราว หรือความรู้ไว้ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น สไลด์ (บรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะภาพนิ่ง) หนังสือ (บรรจุเรื่องราว เป็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์) แผ่นเสียง เทปเสียง (บรรจุเรื่องราวไว้เป็นเสียง) สื่อประเภทวัสดุ สามารถจำแนกออกได้อีก 2 ชนิด คือ

1.1 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ จึงจะสามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ไปยังผู้เรียนได้ เช่นแผ่นเสียง เทปวีดิทัศน์ ภาพโปร่งใส เป็นต้น

1.2 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่สามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ได้โดยตัวเอง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ลูกโลก รูปภาพ หนังสือ เ็ป็นต้น

2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสิ่งที่เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น

3. สื่อการสอนประเภทเทคนิค และวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้ ตัวอย่างเช่น การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น
5. ความสำคัญของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้

2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว

3. ป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว

4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต

5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้

1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน

2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง

3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน

4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น

5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน

6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้

7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบความสำคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
6. ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความรู้จักว่าสื่อการสอนนั้นหมายถึงอะไร

ท่านผู้รู้หลายคนได้ให้คำนิยามไว้มากมายดังนี้ความหมายของสื่อการสอนการเรียนการสอนเป็นระบบหนึ่งในระบบการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยสื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางหรือสะพานเชื่อมโยง เพื่อให้ความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สื่อการเรียนการสอนเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องใช้สื่อเพื่อนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และผู้เรียนก็ต้องใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอนหรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ "สื่อการเรียนการสอน" นั่นเอง ( วาสนา ชาวหา , 2533 )สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน นับแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอน และผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ ความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ล้วนเป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ทั้งสิ้น ( กิดานันท์ มลิทอง , 2540 : 79 )การเรียนรู้เป็นกระบวนการสื่อความหมาย ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีตัวกลางที่เรียกว่า "สื่อการสอน" เป็นตัวช่วยในการถ่ายทอดความรู้ มีผู้ให้ความหมายของ "สื่อการสอน" ไว้ต่าง ๆ กันดังนี้บราวและคนอื่น ๆ ( Brown and others,1973 : 2 ) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน ได้แก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท นาฎการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และสำรวจกิดานันท์ มิลทอง ( 2540 : 79 ) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นเครื่องมือหรือช่องทาง สำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้อย่างดีสรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องมือหรือช่องทางสำหรับช่วยถ่ายทอด หรือนำความรู้หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติและพฤติกรรมโดยได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปการเรียนการสอน
1.สื่อการสอน
ความหมายของสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php


ประโยชน์ของสื่อการสอน

1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน

2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง

3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน

4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น

5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน

6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้

7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php


การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design)

1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

หลักการออกแบบสื่อ
1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ

2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย

องค์ประกอบของการออกแบบ
1.จุด ( Dots )
2.เส้น ( Line )
3.รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4.ปริมาตร ( Volume )
5.ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7.สี ( Color )
8.น้ำหนักสื่อ ( Value )

ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

การใช้สื่อการสอน

1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป

2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้

3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
ที่มา: http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเรียนรู้

เนื้อหาการเรียนรู้
1.
การเรียนโปรแกรม PhotoShop
1.1 การตัดภาพการตัดภาพ การนำเอาภาพขนาดใหญ่ มาใส่ในเว็บเพจ ไม่ใช่วิธีที่ดีของการนำเสนอ เพราะจะทำให้การโหลดภาพเสียเวลามาก วิธีที่ดีที่สุด คือ ควรตัดภาพเป็นชิ้นเล็ก แล้วนำภาพมาประกอบกันเป็นชิ้นอีกครั้ง ด้วยเทคนิคการประกอบภาพผ่านเอกสารเว็บ ดังนั้นเนื้อหานี้จะแนะนำการ
1.ตัดภาพ เป็นส่วนๆ ก่อน เพื่อเป็นแนวทาง และเป็นการเตรียมภาพขั้นต้น ไว้ก่อน
2.เตรียมภาพที่ต้องการ และเปิดไว้บนหน้าต่างการทำงานของ Adobe Photoshop ขยายหน้าต่างภาพ ให้เห็นพื้นที่ว่างรอบภาพ
3.เปิดแถบบรรทัด ด้วยคำสั่ง View, Show Rulers
4.เลือกเครื่องมือ Move Tool
5.นำเมาส์ไปชี้ในแถบไม้บรรทัด คลิกปุ่มเมาส์ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ (กรณีที่ชี้ที่บรรทัดแนวนอน ก็ให้ลากเมาส์ลงมา และกรณีที่ชี้ในไม้บรรทัดแนวตั้ง ก็ให้ลากเมาส์ไปด้านขวา) จะปรากฏเส้นนำสายตา (Guide Line : มักเป็นสีน้ำเงิน)
6.เลื่อนเส้นนำสายตา ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมของภาพ แล้วปล่อยนิ้วจากเมาส์ เพื่อยืนยันตำแหน่ง
7.หากต้องการตำแหน่งอื่น ก็ทำขั้นตอนที่ 5 - 6 ซ้ำ จนได้ครบทุกตำแหน่ง
8.ถ้าต้องการปรับตำแหน่งของเส้นนำสายตา ที่วางไว้แล้ว ให้นำเมาส์ไปชี้ที่เส้นนั้นๆ จะพบว่า Mouse Pointer มีรูปร่างเป็นลูกศรสองหัว ให้กดปุ่มเมาส์ค้างไว้ แล้วปรับตำแหน่ง
9.ถ้าต้องการลบเส้นนำสายตาเส้นใด ให้นำเมาส์ลากเส้นนำสายตาเส้นที่ต้องการ ไปปล่อยในแถบไม้บรรทัด
10.หากต้องการลบเส้นนำสายตาทุกเส้น ให้เลือกคำสั่ง View, Clear Guides
11.ตรวจสอบว่าภาพมีการกำหนดเป็น Layer หรือไม่ หากเป็น Layer จะต้องทำการรวม Layer ก่อน ด้วยคำสั่ง Layer, Flatten Image
12.เปลี่ยนเครื่องมือเป็น Selection Tools ที่ต้องการ
13.กำหนดพื้นที่รอบกรอบที่กำหนดไว้ ทีละกรอบ
14.เลือกคำสั่ง Edit, Copy เพื่อคัดลอกข้อมูลที่เลือก ไว้ใน Clipboard
15.เลือกคำสั่ง File, New เพื่อเปิดพื้นที่งานใหม่ โดยไม่ต้องตั้งค่าใดๆ ให้กดปุ่ม ได้เลย
16.เลือกคำสั่ง Edit, Paste เพื่อวางข้อมูลจาก Clipboard บนหน้าต่างที่เตรียมไว้
17.จัดเก็บงาน ด้วยไฟล์ฟอร์แมตที่ต้องการ
18.ทำขั้นตอนที่ 13 - 17 ซ้ำ กับภาพตำแหน่งอื่นเพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้ชิ้นส่วนของภาพ เพื่อนำไปใช้ในเว็บได้
ที่มา: http://www.nectec.or.th/courseware/graphics/photoshop/0027.html
2. การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
3. ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น <สีเขียว>ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน <สีน้ำเงิน>
1. เป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่กำหรดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าได้เกิดปัญญาความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แล้ว สามารถที่จะบอก อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้นั้นได้
1.2 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะของร่างกายในการเคลื่อนไหว ลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหา
1.3 พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกด้านอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมประกอบด้วยพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายหลายประการด้วยกัน สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ หากจะต้องสนองต่อทุกพฤติกรรมแล้ว ย่อมมีลักษณะสับสนหรือซับซ้อน ในการออกแบบสื่อการสอน จึงต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอรียนของื่อชนิดหนึ่ง ๆ ย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อย่อมทำไม่ได้ ในทางปฎิบัติจึงใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น -การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต -การสอนกลุ่มเล็ก -การสอนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนต์มีความเหมาะสมกัยการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล้ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกีน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4. ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่งอต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีตวามเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหทมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนต์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ -การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก -การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก -สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
4. การเรียนโปรแกรม Photoshop
การเรียนโปรแกรม Photoshop .......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้.....ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือWidth : กำหนดความกว้างHeight :กำหนดความสูง(ควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm )Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode : กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสี ก็คือโหมด CMYK.....C = Cyan สีฟ้า.....M= Mageta สีม่วงแดง.....Y=Yellow สีเหลือง.....K=Black สีดำContent กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสงการเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้.....ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการการตัดภาพ.....การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselectเมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อนการทำภาพเพิ่ม1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่ 22. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหายขั้นตอนการตกแต่งภาพ1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลงการแก้ไขงาน ทำได้ 2 วิธี คือ1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไขการตัดพื้น.....การใช้ Polygonal Lasso Tool คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่งการบันทึกงาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้.......1.การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้
1. เลือกเมนู File > Save as
2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd.......2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่.......3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)การใช้ Filter......เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ
5. เรียนวิธีทำBlog
วันที่ 8 สิงหาคม 2550 เรียนวิธีทำ Blog เพื่อมีพื้นที่ในการนำเสนองานของตนเอง โดยสมัครได้ที่www.Blogger.com/home และได้เรียนวิธีการปรับแต่งหน้าBlog การปรับแต่งตัวอักษรหัวเรื่องให้น่าสนใจ โดยการทำให้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นการเน้นเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น ภาษาอังกฤษควรทำให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ การปรับเปลี่ยนสีพื้นหน้า Blog สีตัวอักษร รวมถึงเรียนการนำรูปมาใส่ไว้หน้าBlog ด้วย